ReadyPlanet.com
dot dot
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot
bulletภาพบรรยากาศเยาวชนเก็บตัวฝึกซ้อม สาขาเทคโนโลยีระบบเครือข่าย
dot
ดาวน์โหลด
dot
bulletใบสมัครสมาชิก
dot
Technicain & Tips
dot
bulletLINK Network Cable Tester
bulletน่ารู้เรื่อง..IEEE Standard
bulletHow Does POE Work ?
bulletแนวคิดของ POE
bulletการทดสอบ Fiber Optic
bulletPatch Cord และ Cross Cable
bulletTwisted Pair cable Classification
dot
ความรู้วิชาการแปลเอกสารมาตรฐานเครือข่ายด้านคอมพิวเตอร์
dot
bulletคำปรารภ โดยคุณสุวิทย์ ศรีสุข
bulletมาจัดห้องเครื่องโทรคมนาคมกันเถอะ
bulletห้องย่อยโทรคมนาคม
bulletห้องเครื่อง
bulletเมนเข้าอาคาร
bulletเบ็ดเตล็ด
bulletสายดิน
dot
แนะนำเครื่องมือ
dot
bulletเครื่อง Test LAN




ข้อบังคับของสมาคม

สมาคมธุรกิจข่ายสายสัญญาณไทย

ข้ อ บั ง คั บ ใหม่

 . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

หมวดที่ 1

บทความทั่วไป

 

ข้อ 1     ชื่อสมาคมการค้า            สมาคมการค้านี้ชื่อว่า

             สมาคมเคเบิ้ลลิ่งไทย

เขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า   

            “Thailand Cabling Association"  เรียกชื่อ

            เป็นภาษาอังกฤษว่า "ไทยแลนด์ เคเบิ้ลลิ่ง อะโซซิเอชั่น "

              คำว่า "สมาคม"ต่อไปในข้อบังคับนี้ให้หมายถึง

              สมาคมเคเบิ้ลลิ่งไทย

 

ข้อ 2     สำนักงานของสมาคม      ตั้งอยู่ เลขที่ 9/277 หมู่ที่ 5 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000

 

ข้อ 3     ตราของสมาคม  มีเครื่องหมายเป็นรูป ดังนี้

 

              ตรา

 

                                                    

 

 

 

หมวดที่ 2

วัตถุประสงค์

 

ข้อ 4     สมาคมนี้มีวัตถุประสงค์ต่อไปนี้

 

(1)      ส่งเสริมการประกอบ วิสาหกิจประเภทเกี่ยวกับ การทำธุรกิจข่ายสายสัญญาณ ติดตั้ง ผลิต จำหน่ายอุปกรณ์

              (2)     สนับสนุน ช่วยเหลือสมาชิก แก้ไขอุปสรรค ข้อขัดข้องต่างๆ      รวมทั้งทำความเจรจา ตกลงกัน ในการประกอบ วิสาหกิจของสมาชิก สอดส่อง และติดตาม ความเคลื่อนใหว ของตลาดข่ายสายสัญญาณ ทั้ง  ภายในและภายนอกประเทศ เพื่ออำนวยประโยชน์ แก่การประกอบธุรกิจ การเศรษฐกิจ

 

(3)เพื่อเป็นศูนย์กลาง แลกเปลี่ยนวิทยาการ ในหมู่สมาชิก ,สหพันธ์เกี่ยวกับข่ายสายสัญญาณ และสนับสนุน                   การศึกษา วิจัย งานอาชีพด้านข่ายสายสัญญาณ

 

     (4)ทำความตกลง หรือวางระเบียบ ให้สมาชิกปฎิบัติ หรืองดเว้นการปฎิบัติ เพื่อให้การประกอบการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

            (5)ไม่ดำเนินการที่เกี่ยวข้องทางการเมือง

 

            (6)        ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์

 

             (7)       ส่งเสริมพลานามัย กีฬา และจัดงานบันเทิงเป็นครั้ง    คราว

 

             (8)       ยกมาตราฐานการการจ้างงานข่ายสายสัญญาณ ให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปด้วยความปลอดภัย

 

           

 

 

หมวดที่ 3

สมาชิกและสมาชิกภาพ

 

ข้อ 5     ประเภทสมาชิก   สมาชิกของสมาคมแบ่งออกเป็นสามประเภท และมีคุณสมบัติดังนี้ คือ

 

            (1)        สมาชิกสามัญ    ได้แก่ นิติบุคคลที่มีสัญชาติไทยที่ประกอบวิสาหกิจประเภทเกี่ยวกับงานด้านวิศวกรรม การรับเหมา  ติดตั้ง  ผลิต  จำหน่ายอุปกรณ์ข่ายสายสัญญาณสื่อสารซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนร้านค้าต่างๆ ซึ่งประกอบวิชาชีพนี้

 

            (2)        สมาชิกวิสามัญ   ได้แก่ นิติบุคคลที่ประกอบวิสาหกิจประเภทเกี่ยวกับงานด้านวิศวกรรม  การรับเหมาติดตั้ง ผลิต  จำหน่ายอุปกรณ์ข่ายสายสัญญาณสื่อสาร ที่ยังไม่มีคุณสมบัติจะเป็นสมาชิกสามัญได้

 

            (3)        สมาชิกสมทบ     ได้แก่  บุคคลธรรมดาที่ประกอบวิสาหกิจ  ประเภทเกี่ยวกับ  งานด้านวิศวกรรม การรับเหมา ติดตั้ง ผลิต จำหน่ายอุปกรณ์ข่ายสายสัญญาณสื่อสาร

 

ข้อ 6     คุณสมบัติของสมาชิก      สมาชิกของสมาคมการค้านอกจากคุณสมบัติตาม  ข้อ 5   แล้วยังต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ

            (1) ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา

                        1.เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว

2.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย บุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ

3.ไม่เคยเป็นบุคคลที่เคยต้องโทษจำคุก โดยพิพากษาถึงที่สุดของศาลมาก่อน  เว้น แต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่อัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือความผิดซึ่งกระทำโดยประมาท

4.ไม่เป็นโรคอันพึงรังเกียจแก่สังคม

                        5.เป็นผู้มีฐานะมั่นคงพอสมควร

                        6.เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย

           

            (2)ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล           

                        1.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

                        2.มีฐานะมั่นคงพอสมควร

                        ให้นำความในข้อ 6 (1) มาใช้บังคับแก่คุณสมบัติของผู้แทนนิติบุคคล ที่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจ

            กระทำการแทนนิติบุคคลที่เป็นสมาชิกตามข้อ 10 ด้วย

 

ข้อ 7     การสมัครเข้าเป็นสมาชิก  ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญหรือสมาชิกสมทบของสมาคม   จะต้องยื่นความจำนงต่อเลขาธิการหรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการตามแบบพิมพ์ที่สมาคมได้กำหนดไว้ โดยมีสมาชิกสามัญเป็นผู้รับรองอย่างน้อยสองคน

 

ข้อ 8     การพิจารณาคำขอสมัครเข้าเป็นสมาชิก     ให้เลขาธิการหรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการนำใบสมัครเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการในคราวต่อไปครั้งแรกหลังจากที่ได้รับใบสมัคร    เมื่อคณะกรรมการมีมติให้รับหรือไม่รับผู้ใดเข้าเป็นสมาชิก  ให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งให้ผู้นั้นทราบภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันลงมติ มติให้รับหรือไม่รับการเข้าเป็นสมาชิกเป็นสิทธิเด็ดขาดของคณะกรรมการใครจะฟ้องร้องมิได้

 

ข้อ 9     วันเริ่มสมาชิกภาพ                       สมาชิกภาพเริ่มตั้งแต่วันที่ผู้สมัครได้ชำระค่าลงทะเบียนเป็นสมาชิกและ         ค่าบำรุงประจำปีของสมาคมเรียบร้อยแล้ว

 

ข้อ 10   สมาชิกที่เป็นนิติบุคคล     ต้องแต่งตั้งผู้แทนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่มีอำนาจกระทำกิจการแทนนิติบุคคล นั้นได้ไม่เกินสองคน      เพื่อปฏิบัติการในหน้าที่และใช้สิทธิแทนนิติบุคคลนั้นได้เพียงเท่าที่สมาชิกบุคคลธรรมดาประเภทเดียวกันนั้นจะพึงมีในการนี้ผู้แทนจะมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการแทนหรือแต่งตั้งตัวแทนช่วงมิได้

            บุคคลเดียวกันจะเป็นผู้แทนที่มีอำนาจกระทำการแทนสมาชิกเกินหนึ่งรายมิได้

ข้อ 11   การขาดจากสมาชิกภาพ  สมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดลง ในกรณีดังต่อไปนี้

            (1) ตาย หรือสิ้นสภาพนิติบุคคล

            (2) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 6

            (3) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อคณะกรรมการ และคณะกรรมการเห็นชอบ

            (4) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย

            (5) ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ

            (6) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่เป็นความผิดลหุโทษ หรือความผิดในอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท

            (7) คณะกรรมการลงมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียนสมาชิก    โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของ

                  จำนวนกรรมการทั้งหมด ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้  

                        1. กระทำการใดๆ ที่ทำให้สมาคมเสื่อมเสียชื่อเสียงโดยเจตนา

                        2. กระทำการละเมิดข้อบังคับโดยเจตนา   

                        3. ไม่ชำระเงินค่าบำรุงประจำปีและได้รับใบเตือนจากเจ้าหน้าที่ครบสามสิบวันแล้ว

 

ข้อ 12   ทะเบียนสมาชิก  ให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนสมาชิกเก็บไว้ ณ สำนักงานของสมาคม โดยอย่างน้อยให้มีรายการดังต่อไปนี้

                        (1) ชื่อและสัญชาติของสมาชิก

                        (2) ชื่อที่ใช้ในการประกอบวิสาหกิจและประเภทของวิสาหกิจ

                        (3) ที่ตั้งสำนักงานของสมาชิก

                        (4) วันที่เข้าของสมาชิก

 

หมวดที่ 4

สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

 

ข้อ 13   สิทธิของสมาชิก 

           

            (1) ได้รับความช่วยเหลือ และการสงเคราะห์ในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการ อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมจากสมาคมเท่าที่จะอำนวยได้

            (2) เสนอความคิดเห็นหรือให้คำแนะนำต่อสมาคม หรือคณะกรรมการในเรื่องใดๆ อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของสมาคม

            (3) ขอตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของสมาคมได้   โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อเลขาธิการหรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการ

            (4) เข้าร่วมประชุมอภิปรายแสดงความคิดเห็น ซักถามกรรมการ เสนอญัตติในการประชุมใหญ่สมาชิก

            (5) มีสิทธิประดับเครื่องหมายของสมาคม

            (6) สมาชิกสามัญเท่านั้น มีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ และมีสิทธิได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการ

ข้อ 14   หน้าที่ของสมาชิก

            (1) ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคม มติที่ประชุมใหญ่ มติของคณะกรรมการ และหน้าที่ซึ่งตนได้รับมอบหมายจากสมาคมด้วยความซื่อสัตย์โดยเคร่งครัด

            (2) ดำรงรักษาเกียรติและผลประโยชน์ส่วนได้เสียของสมาคม ตลอดจนต้องรักษาความลับในข้อประชุมหรือวิธีการของสมาคม ไม่เปิดเผยข้อความซึ่งอาจจะนำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคมโดยเด็ดขาด

            (3) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของสมาคมให้เจริญรุ่งเรืองและมีความก้าวหน้าอยู่เสมอ

            (4) ต้องรักษาไว้ซึ่งความสามัคคีธรรม ระหว่างสมาชิกและปฏิบัติกิจการค้าในทำนองช่วยเหลือกันด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

            (5) ชำระค่าบำรุงให้แก่สมาคมตามกำหนด

            (6) สมาชิกผู้ใดเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ย้ายที่อยู่  ย้ายที่ตั้งสำนักงาน  เปลี่ยนแปลงประเภทวิสาหกิจหรือเปลี่ยนผู้แทนนิติบุคคล   จะต้องแจ้งให้เลขาธิการทราบเป็นหนังสือภายในกำหนดเจ็ดวัน  นับแตเปลี่ยนแปลง

 

            หมวดที่ 5

ค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิก และค่าบำรุงสมาคม

 

ข้อ 15   ค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิกและค่าบำรุงสมาคม

 

            (1)        สมาชิกสามัญ    ต้องชำระค่าลงทะเบียน 500.- บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน) และค่าบำรุง

                        สมาคมเป็นรายปีๆ ละ 1,000.- บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)

           

            (2)        สมาชิกวิสามัญ   ต้องชำระค่าลงทะเบียน 500.- บาท(ห้าร้อยบาทถ้วน) และค่าบำรุงสมาคมเป็นรายปีๆ ละ 500.- บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)

            (3)        สมาชิกสมทบ     ต้องชำระเงินค่าลงทะเบียน 500.-บาท(ห้าร้อยบาทถ้วน) และค่าบำรุงสมาคมเป็นรายปีๆ ละ 500.- บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)

ข้อ 16   ค่าบำรุงพิเศษ     สมาคมอาจเรียกเก็บค่าบำรุงพิเศษ จำนวนเท่าใดจากสมาชิกได้เป็นครั้งคราว โดยที่      ประชุมใหญ่ลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุมทั้งหมด

 

หมวดที่ 6

คณะกรรมการของสมาคม

 

ข้อ 17   ให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง    เป็นผู้บริหารงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคมและเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก   ให้สมาชิกลงคะแนนเลือกตั้งนายกและนายกจะเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนและไม่เกินสามสิบคน

            เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่ในครั้งนั้นๆ  จะมีมติเป็นอย่างอื่น  การเลือกตั้งนายก ให้กระทำด้วยวิธีลงคะแนนลับ โดยให้สมาชิกสามัญเสนอชื่อของสมาชิกซึ่งตนประสงค์จะให้สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นนายกที่ต่อประชุมใหญ่ โดยมีสมาชิกสามัญอื่นรับรองไม่น้อยกว่าสองคนแล้วที่ประชุมใหญ่ลงมติเลือกตั้งให้นายกสมาคมแต่งตั้งตำแหน่ง อุปนายก เลขาธิการ  เหรัญญิก นายทะเบียน ปฏิคม ประชาสัมพันธ์และตำแหน่งอื่นๆ ตามความเหมาะสมด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการที่จะได้กำหนดหน้าที่ตามที่เห็นสมควร

            คณะกรรมการของสมาคมอยู่ในตำแหน่งวาระสองปี

            คณะกรรมการของสมาคม  อยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระ   ยกเว้นจะได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่

 

ข้อ 18   การพ้นจากตำแหน่งกรรมการ        กรรมการย่อมพ้นจากตำแหน่งในกรณี ดังต่อไปนี้

            (1)        ครบกำหนดออกตามวาระ

            (2)        ลาออกโดยคณะกรรมการได้ลงมติอนุมัติแล้ว หรือนายกสมาคมให้ออก เว้นแต่การลาออกเฉพาะตำแหน่งตามข้อ 17 วรรคสาม โดยมิได้ออกจากการเป็นกรรมการ

            (3)        ขาดจากสมาชิกภาพ

 

            (4)        ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ถอดถอนจากการเป็นกรรมการ

 

            (5)        เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งให้ออกตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.. 2509

 

            (6)        ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.. 2509

 

            (7)        ในกรณีที่ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นนิติบุคคลตามข้อ 10  ที่ได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ตาย ลาออก

                        หรือพ้นจากตำแหน่งผู้แทนของสมาชิกนั้น

 

ข้อ 19   กรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งกรรมการก่อนครบกำหนดออกตามวาระ            คณะกรรมการอาจตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งให้เป็นกรรมการแทนได้ แต่กรรมการที่รับแต่งตั้งแทนนี้ให้เป็นกรรมการอยู่ได้ตามวาระของผู้ที่ตนแทน

            กรณีคณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะก่อนครบกำหนดออกตามวาระ ให้คณะกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งนั้นดำเนินการจัดประชุมใหญ่สมาชิก เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่  ในกรณีนี้ให้นำความในข้อ 24 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

            คณะกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งตามวรรคก่อน  อยู่ในตำแหน่งได้ตามวาระของคณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งไป

 

ข้อ 20   องค์ประชุมในการประชุมคณะกรรมการ     การประชุมของคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะนับว่าเป็นองค์ประชุม

 

            ในกรณีที่จำนวนกรรมการในคณะกรรมการ น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด กรรมการที่เหลืออยู่ย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะตั้งสมาชิกสามัญคนหนึ่ง    หรือหลายคนเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นให้ครบจำนวน หรือนัดประชุมใหญ่ หรือกระทำกิจการอันสมควรทุกอย่างเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของสมาคมเท่านั้น

 

ข้อ 21   มติของที่ประชุมคณะกรรมการ      ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมาก   กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่ง เสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมมีคะแนนอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

            ในกรณีที่ประชุมคณะกรรมการลงมติอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและหรือข้อบังคับนี้   ให้ถือว่ามตินั้นใช้บังคับมิได้

 

ข้อ 22   ประธานในที่ประชุม        ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุม ถ้านายกสมาคมไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้อุปนายกผู้อาวุโสตามลำดับปฏิบัติหน้าที่แทน      ถ้าทั้งนายกสมาคมและอุปนายกไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้  ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะในการประชุมคราวนั้น

 

ข้อ 23   การประชุมคณะกรรมการ ให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยสามเดือนต่อครั้ง อนึ่งในกรณีจำเป็นนายกสมาคม หรือผู้ทำหน้าที่แทน    หรือกรรมการรวมกันไม่น้อยกว่าห้าคนจะเรียกประชุม

พิเศษขึ้นก็ได้

           

ข้อ 24   การเข้ารับหน้าที่ของคณะกรรมการ            เมื่อมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่  ให้คณะกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งยื่นจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่  ต่อนายทะเบียนสมาคมการค้าภายในสามสิบวัน  นับแต่วันเลือกตั้งและส่งมอบหน้าที่ให้คณะกรรมการชุดใหม่ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่นายทะเบียนสมาคมการค้าฯ จะรับจดทะเบียน

            ในกรณีที่นายทะเบียนสมาคมการค้าฯ ยังมิได้รับจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่   และคณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งยังมิได้ส่งมอบหน้าที่ตามวรรคแรก  ให้คณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งนั้นมีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการของสมาคมต่อไปจนกว่านายทะเบียนสมาคมการค้าฯ จะรับจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่และคณะกรรมการชุดใหม่นั้นเข้ารับหน้าที่แล้ว

 

ข้อ 25   อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ          มีดังนี้

 

            (1)        จัดดำเนินการและดูแลทรัพย์สินของสมาคมให้เป็นไปตามข้อบังคับและมติของที่ประชุม

 

            (2)        เลือกตั้งกรรมการให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในคณะกรรมการ

 

            (3)        วางระเบียบการในการปฏิบัติงานของสมาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

 

            (4)        ว่าจ้าง แต่งตั้ง และถอดถอน ที่ปรึกษาของคณะกรรมการ อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่และพนักงานทั้งปวง ในการทำกิจการ เฉพาะอย่างหรือพิจารณาเรื่องต่างๆ อันอยู่ในขอบเขตหน้าที่

ของสมาคม เพื่อให้การดำเนินงานของสมาคมเป็นไปโดยเรียบร้อยที่ปรึกษาของคณะกรรมการและอนุกรรมการดังกล่าว  จะแต่งตั้งจากกรรมการ   หรือสมาชิกของสมาคมหรือบุคคลภายนอกก็ได้

                       

ข้อ 26   อำนาจหน้าที่กรรมการตำแหน่งต่างๆ   มีดังนี้

           

            (1)        นายกสมาคม     มีหน้าที่อำนวยการเพื่อให้การดำเนินการของสมาคมเป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบการในการปฏิบัติงานของสมาคม   เป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับ

บุคคลภายนอก และเป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ ตลอดจนที่ประชุมใหญ่

 

            (2)        อุปนายก     มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายกสมาคมในกิจการทั้งปวง  อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายกสมาคมและเป็นผู้ที่ทำหน้าที่แทนนายกสมาคม  เมื่อนายกสมาคมไม่อยู่   หรือไม่ อาจปฏิบัติหน้าที่ได้        

 

            (3)        เลขาธิการ   มีหน้าที่ทำการโต้ตอบหนังสือ  เก็บรักษาเอกสารต่างๆ ของสมาคมเป็นเลขานุการในที่ประชุมคณะกรรมการ และที่ประชุมใหญ่  ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการได้มอบหมาย

 

            (4)        เหรัญญิก   มีหน้าที่รักษาและจ่ายเงินของสมาคม ทำบัญชีการเงิน เก็บรักษาและจ่ายพัสดุของสมาคม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการได้มอบหมาย

 

            (5)        นายทะเบียน    มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนสมาชิกและทะเบียนต่างๆ อันมิใช่ทะเบียนเกี่ยวกับการเงินของสมาคม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการได้มอบหมาย

 

            (6)        ปฏิคม  มีหน้าที่รักษาสำนักงานของสมาคม รักษาความเรียบร้อยของสถานที่ รักษาสมุดเยี่ยมจัดสถานที่ประชุม ดูแลต้อนรับ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการได้มอบหมาย

 

            (7)        ประชาสัมพันธ์   มีหน้าที่เกี่ยวกับการเชิญชวนหาสมาชิก โฆษณากิจการและผลงานด้านต่างๆของสมาคม ตลอดจนปฏิบัตหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการได้มอบหมาย

 

ข้อ 27   ภายใต้บังคับแห่งความในหมวดนี้ ให้นำความในหมวดที่ 7 การประชุมใหญ่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

หมวดที่ 7

การประชุมใหญ่

 

ข้อ 28   การประชุมใหญ่  ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่สมาชิก อย่างน้อยทุกระยะเวลาสิบสองเดือน

            การประชุมเช่นนี้เรียกว่า การประชุมใหญ่สามัญ

                       

            การประชุมใหญ่คราวอื่นนอกจากการประชุมใหญ่ตามวรรคก่อน เรียกว่าการประชุมใหญ่วิสามัญ

 

ข้อ 29   กำหนดการประชุมใหญ่

 

            (1)        ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันสิ้นปีการบัญชีของสมาคมเป็นประจำทุกๆ ปี

 

            (2)        ถ้ามีเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งคณะกรรมการมีมติเห็นสมควรหรือสมาชิกมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดแสดงความจำนง   โดยทำการร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อเลขาธิการหรือคณะกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการ ให้คณะกรรมการนัดประชุมใหญ่วิสามัญภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ลงมติ หรือวันที่ได้รับหนังสือ

 

ข้อ 30   การส่งหนังสือบอกกล่าวนัดประชุม            คณะกรรมการจะต้องส่งหนังสือบอกกล่าว  วัน เวลา สถานที่  และระเบียบวาระการประชุมใหญ่   ไปให้สมาชิกทุกคนได้ทราบโดยส่งจดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่อยู่ของสมาชิกที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน หรือส่งให้ถึงตัวสมาชิกก่อนกำหนดไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

            การจัดส่งหนังสือบอกกล่าวตามวรรคแรก ให้ส่งสำเนาบันทึกรายงานการประชุมใหญ่ครั้งที่แล้ว (ถ้ามี)ไปด้วย ในกรณีที่เป็นการนัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องแนบสำเนารายงานประจำปี และสำเนางบดุลรวมทั้งสำเนาบัญชีรายรับ-รายจ่าย ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วเพิ่มเติมไปด้วย

 

ข้อ 31   องค์ประชุมในการประชุมใหญ่      ในการประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมดจึงจะถือเป็นองค์ประชุม

 

ข้อ 32   กรณีที่การประชุมในครั้งแรกสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม                 หากล่วงพ้นกำหนดเวลานัดไปแล้วหนึ่งชั่วโมงยังมีสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม ถ้าการประชุมใหญ่คราวนั้นได้เรียกนัดเพราะสมาชิกร้องขอ ให้เลิกประชุมใหญ่นั้น  ถ้ามิใช่เพราะสมาชิกร้องขอให้เลื่อนการประชุมและให้ทำการบอกกล่าวนัดประชุมวัน เวลา และสถานที่ประชุมใหญ่นี้อีกครั้งหนึ่ง ภายในกำหนดเวลาสิบห้าวัน นับแต่วันที่ประชุมใหญ่คราวแรก ในการประชุมใหญ่คราวหลังนี้จะมีสมาชิกมากน้อยเพียงใดก็ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุม

 

ข้อ 33   ประธานในที่ประชุม        ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่  ถ้านายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้อุปนายกผู้อาวุโสตามลำดับทำหน้าที่แทน  ถ้าทั้งนายกสมาคมและอุปนายกไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการคนหนึ่งคนใดขึ้นเป็นประธานในที่ประชุมถ้าไม่มีกรรมการในที่ประชุมเลยก็ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งสมาชิกคนหนึ่งคนใดขึ้นเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้น

 

ข้อ 34   วิธีออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่       สมาชิกสามัญเท่านั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนและสมาชิกสามัญคนหนึ่งๆ มีคะแนนเสียงหนึ่งเสียง

            ในการประชุมใหญ่ๆ ใด ข้อมติอันเสนอให้ลงคะแนน ให้ตัดสินใจด้วยวิธีชูมือหรือวิธีการอื่นใดเป็นการ

            เปิดเผยว่าสมาชิกใดลงคะแนนเช่นไร เว้นแต่เมื่อก่อนหรือในเวลาที่แสดงผลแห่งการชูมือนั้น คณะกรรมการเห็นสมควร หรือได้มีสมาชิกสามัญสองคนเป็นอย่างน้อยติดใจร้องขอให้ลงคะแนนลับ

 

ข้อ 35   มติของที่ประชุมใหญนอกจากที่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับนี้ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุมใหญ่  ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันจะเป็นการชูมือก็ดี  การลงคะแนนลับก็ดีหรือด้วยวิธีการอื่นใดก็ดี ให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมมีคะแนนเสียงเป็นหนึ่งเสียงชี้ขาด

 

ข้อ 36   กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่                   มีดังนี้

           

            (1)        รับรองรายงานการประชุมใหญ่ครั้งก่อน

 

            (2)        พิจารณารายงานประจำปี แสดงผลการดำเนินกิจการของสมาคมที่ผ่านมาในรอบปี (ถ้ามี)

            (3)        พิจารณาอนุมัติงบดุล (ถ้ามี)

 

            (4)        เลือกตั้งคณะกรรมการ (ในปีที่ครบวาระ)

 

            (5)        เลือกตั้งที่ปรึกษาของสมาคมประจำปี ผู้สอบบัญชีของสมาคมประจำปี และกำหนดค่าตอบแทน (ถ้ามี)

 

            (6)        กิจการที่ต้องกระทำโดยอาศัยมติจากที่ประชุมใหญ่

 

ข้อ 37   กิจการอันพึงกระทำในการประชุมสมาชิกประจำเดือน           ได้แก่ กิจการอันเกี่ยวกับการปฏิบัติธุรกิจทั่วไปของสมาคม นอกจากกิจการที่จำเป็นต้องกระทำโดยการประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือการ            ประชุมใหญ่วิสามัญ

 

ข้อ 38   การจัดทำรายงาน บันทึกการประชุม           รายงานการประชุมคณะกรรมการ การประชุมใหญ่ การประชุมสมาชิกอื่นๆ และการประชุมอนุกรรมการ ให้จดบันทึกไว้ทุกครั้งและต้องเสนอต่อที่ประชุมเพื่อรับรองในคราวที่มีการประชุมครั้งต่อไป     รายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองแล้วสมาชิกจะดูได้ในวันและ            เวลาทำการ

 

หมวดที่ 8

การเงิน เงินทุนพิเศษและการบัญชีของสมาคม

 

ข้อ 39   วันสิ้นปีทางบัญชี               ให้ถือเอาวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิ้นปีทางบัญชีของสมาคมการค้า

 

ข้อ 40   การจัดงบดุล      ให้คณะกรรมการจัดทำงบดุลที่เป็นอยู่ ณ วันสิ้นปี ทางบัญชีนั้นแล้วส่งให้ผู้สอบบัญชีไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และผู้สอบบัญชีจะต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จก่อนวันประชุมใหญ่ประจำปีไม่น้อยกว่าสามสิบวันงบดุลซึ่งผู้สอบบัญชีได้รับรองแล้ว คณะกรรมการต้องดำเนินการเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญเพื่อ

พิจารณาอนุมัติภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี

เมื่อเสนองบดุล ให้คณะกรรมการเสนอรายงานประจำปี แสดงผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมใหญ่ด้วย

            ให้สมาคมส่งสำเนารายงานประจำปี แสดงผลการดำเนินงานของสมาคมกับงบดุลไปยังนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมใหญ่

            อนึ่ง  ให้เก็บรักษารายงานการประจำปี แสดงผลการดำเนินงานของสมาคมกับงบดุลไว้ที่สำนักงานของสมาคม เพื่อให้สมาชิกขอตรวจดูได้

 

ข้อ 41   อำนาจของผู้สอบบัญชี    ผู้สอบบัญชีมีอำนาจเข้าตรวจสอบสรรพสมุด  บัญชีและบรรดาเอกสารเกี่ยวกับการเงินของสมาคม  และมีสิทธิสอบถามกรรมการตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสมาคมทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบัญชีและเอกสารดังกล่าว ในการนี้กรรมการและเจ้าหน้าที่จะต้องช่วยเหลือและให้ความสะดวกทุกประการเพื่อการตรวจสอบเช่นว่านั้น

 

ข้อ 42   การเก็บรักษาสมุดบัญชีและเอกสารการเงิน จะต้องเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานของสมาคมและให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของเหรัญญิก

 

ข้อ 43   การเงินของสมาคม         เงินสดของสมาคมจะต้องนำฝากไว้ ณ ธนาคารพาณิชย์แห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดซึ่งสมาคมนี้ตั้งอยู่ ในนามของสมาคมโดยเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่

            ให้มีเงินทดลองจ่ายเกี่ยวกับกิจการของสมาคมไม่เกินวงเงิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ในการนี้เหรัญญิกเป็นผู้รับผิดชอบและเก็บรักษาตัวเงิน

            การฝากและการถอนเงินของธนาคาร ให้อยู่ในอำนาจของนายกสมาคมหรืออุปนายกหรือกรรมการคนใดคนหนึ่ง โดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการ ลงนามร่วมกับเหรัญญิก

 

ข้อ 44   การจ่ายเงินของสมาคม    การสั่งจ่ายเป็นอำนาจของนายกแต่ผู้เดียว แต่นายกจะมอบอำนาจให้อุปนายกหรือกรรมการหรือเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งสั่งจ่ายแทนก็ได้    จำนวนเงินที่นายกหรือผู้รับ

มอบอำนาจสั่งจ่ายได้ในกิจการหนึ่งแต่ละครั้งไม่เกิน  50,000 บาท  (ห้าหมื่นบาทถ้วน)  ถ้าเกินห้าหมื่นบาทให้กระทำโดยมติจากที่ประชุมคณะกรรมการทุกครั้งไป

 

หมวดที่ 9

การแก้ไขข้อบังคับ การเลิกสมาคม และการชำระบัญชี

 

ข้อ 45   การแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัดทอนหรือเพิ่มเติมข้อบังคับ จะกระทำแต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสามัญที่มีประชุมทั้งหมด

 

ข้อ 46   การเลิกสมาคม   สมาคมนี้อาจเลิกได้ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้

 

            (1)        เมื่อที่ประชุมใหญ่ ลงมติให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุมทั้งหมด

 

            (2)        เมื่อล้มละลาย

 

            (3)        เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งให้เลิกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.. 2509

 

ข้อ 47   การชำระบัญชี    เมื่อสมาคมนี้ต้องเลิกไปเพราะเหตุหนึ่งเหตุใดดังกล่าวในข้อ 46 การชำระบัญชีของสมาคมให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.. 2509 มาใช้บังคับ

            ในกรณีสมาคมต้องเลิกไปตามข้อ   46 (1)  ให้ที่ประชุมใหญ่คราวนั้นลงมติเลิกตั้งกำหนดตัวผู้ชำระ       บัญชีด้วย และหากต้องเลิกไปตามข้อ  46 (3)  ให้กรรมการทุกคนในคณะกรรมการชุดสุดท้ายที่ได้

จดทะเบียนเป็นกรรมการต่อนายทะเบียนสมาคมการค้าเป็นผู้ชำระบัญชี

               หากมีทรัพย์สินของสมาคมเหลือจากการชำระบัญชีให้ยกให้แก่นิติบุคคลในประเทศไทย ที่มีวัตถุ         ประสงค์เกี่ยวกับการกุศลสาธารณะแห่งใดแห่งหนึ่ง  หรือหลายแห่งมติของที่ประชุมใหญ่ หากไม่มีมติดังกล่าว ให้ทรัพย์สินของสมาคมตกแก่สภากาชาดไทย

 

หมวดที่ 10

จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

 

ข้อ 48   สมาชิกจะต้องยึดถือจรรยาบรรณเหล่านี้

 

            (1)        ในหน้าที่รับผิดชอบต่อลูกค้าและวิชาชีพ สมาชิกจะต้องยึดถือกฎเกณฑ์ของสถาบันอาชีพที่ตนเป็นสมาชิกและต่อสาธารณะประโยชน์

 

            (2)        สมาชิกต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างซื่อสัตย์สุจริต

 

            (3)        สมาชิกจะต้องมีความประพฤติในทางรักษาเกียรติภูมิและชื่อเสียงของวิชาชีพ จะต้องไม่ทำการใดๆ ที่คณะกรรมการของสมาคมเห็นว่าเสียหายต่ออาชีพ ต่อสมาชิกของสมาคม

 

            (4)        สมาชิกจะต้องไม่กระทำการใดๆ  ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อชื่อเสียงของวิชาชีพ หรือกิจกรรมของสมาชิกอื่น

            (5)        สมาชิกจะต้องไม่แทรกแซง หรือพยายามแทรกแซงงานที่มีผู้ประกอบการอาชีพเดียวกันได้          รับมอบหมายไว้ก่อนแล้ว

 

หมวดที่ 11

บทเฉพาะกาล

 

ข้อ 49   เมื่อนายทะเบียนสมาคมการค้าได้อนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมแล้ว ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบุคคลทำหน้าที่กรรมการ              (ชั่วคราว) จนกว่าจะได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการตามข้อ บังคับนี้ ซึ่งจะต้องจัดให้มีขึ้นภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อย        ยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมแล้ว

 

            ภายใต้บังคับแห่งความในวรรคแรก  กรณีที่มีการประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการชุดแรกในช่วงเวลาน้อยกว่าสามเดือน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสมาคม  ให้ถือเอาวันสิ้นปีทางบัญชีของสมาคมเป็นวันตั้งต้นคำนวณวาระกรรมการตามข้อ 17 วรรคสี่

 

ข้อ 50   เพื่อประโยชน์แห่งความในข้อบังคับข้อ 7 ให้ผู้ก่อเริ่มก่อการจัดตั้งทุกคน ทำหน้าที่เป็นสมาชิกสามัญ

 

ข้อ 51   ให้ใช้ข้อบังคับนี้ตั้งแต่วันที่นายทะเบียนสมาคมการค้า ได้อนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมการค้าเป็นต้นไป

 

                                                *****************************************

 

 







<< เลขที่ 9/277 หมู่ที่ 5 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 >> www.thaicabling.org Tel. +66 2 944-8089